header-photo
 

ข่าวสารอาเซียน (ASEAN News)

 

กัมพูชาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำฉันทนา 9.4 %

ASEAN News

8 ตุลาคม 2558 : สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ว่า รัฐบาลกัมพูชาประกาศปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและโรงงานผลิตรองเท้า ร้อยละ 9.4 จากปัจจุบันเดือนละ 128 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4,596 บาท) เป็นเดือนละ 140 ดอลลาร์ (ประมาณ 5,027 บาท) โดยหวังจะผ่อนคลายภาวะตึงเครียด ในภาคอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญของประเทศ แต่การปรับขึ้นจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ปีหน้า

แถลงการณ์ของกระทรวงแรงงานกัมพูชา เมื่อวันพฤหัสบดี ระบุว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ เป็นไปตามคำสั่งของ สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ภายหลังการเจรจาต่อรองอย่างเคร่งเครียดนาน 8 วัน ในคณะกรรมการที่รวมตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล เจ้าของโรงงานและสหภาพแรงงาน รายงานระบุ เสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมเห็นขอบให้ปรับขึ้นเป็นอย่างต่ำเดือนละ 135 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้ที่ 140 ดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขสุดท้ายน้อยกว่าขั้นต่ำเดือนละ 160 ดอลลาร์ (5,746 บาท) ที่ตัวแทนสหภาพแรงงานยื่นข้อเสนอ

 

เมื่อ 3 ปีก่อน สภาพแรงงานรณรงค์ให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2 เท่า จากเดือนละ 80 ดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้น สำกรับคนงานของโรงงานสิ่งทอ ตัดเย็ฐเสื้อผ้า และโรงงานผลิตรองเท้า การเดินขบวนประท้วงส่งผลให้เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนในที่สุดรัฐบาลประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ 100 ดอลลาร์สหรัฐปี 2557 และ 128 ดอลลาร์สหรับปี 2558 แต่ความตึงเครียดเกี่ยวกับค่าจ้างยังสูง

อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตรองเท้า สร้างรายได้จากการส่งออกให้กับกัมพูชามากที่สุด ในปี 2557 กัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้รวมมูลค่ากว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรป ปัจจุบันมมีแรงงานกัมพูชาประมาณ 700,000 คน ทำงานในโรงงานต่างๆ กว่า 700 แห่ง เกือบทั้งหมดเจ้าของเป็นชาวเอเชีย ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าให้บริษัทแบรนด์เนมชื่อดังระดับโลก เช่น แก็ป ไนกี้ ลีวายส์ ซาร่า พูม่า อาดิดาส เอช แอนด์ เอ็ม และอินเดิเท็กซ์ แต่การหยุดงานประท้วงเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงบ่อยครั้ง ในช่วงไม่กี่ปีล่าสุด สร้างความวิตกต่อบรรดาบริษัทแบรนด์เนมยักษ์ใหญ่ ซึ่งเข้าไปลงทุนในกัมพูชาจากแรงดึงดูดของค่าแรงถูกกว่าจีน ที่ได้ฉายาว่าเป็นโรงงานผลิตของโลกในปัจจุบัน.

แหล่งข้อมูล ภาพและข่าว : เดลินิวส์

กลับหน้าหลัก ข่าวสารอาเซียน