header-photo
 

 ลาว - ภูมิศาสตร์/ภูมิอากาศ 

 

สภาพทางภูมิศาสตร์ : ลาว

แผนที่ประเทศลาว

มีพื้นที่ประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 50% ของพื้นที่ประเทศไทย) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีแนวชายแดนล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ คือ จีน เวียดนาม ไทย กัมพูชา และพม่า

          ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (505 กิโลเมตร)
          ทิศใต้ ติดกับกัมพูชา (435 กิโลเมตร)
          ทิศตะวันออก ติดกับเวียดนาม (2,069 กิโลเมตร)
          ทิศตะวันตก ติดกับไทย (1,810 กิโลเมตร)
          ทิศตะวันตกเฉียงหนือ ติดกับพม่า (236 กิโลเมตร)

ความยาวพื้นที่ประเทศลาว ตั้งแต่เหนือจรด ใต้ยาวประมาณ 1,700 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร ภูมิประเทศของลาวอาจแบบได้เป็น 3 เขต คือ

1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ

 

2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดน กัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)

3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าว อู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขต ซึ่งอยู่ ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียงและที่ราบจำปาสัก ทางภาคใต้ของลาว ซึ่ง ปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ (พื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูง) รวมแล้วร้อยละ 90 เป็นภูเขาและที่ราบสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ภูเบี้ย อยู่ในแขวงเชียงขวาง มีความสูง 2,820 เมตร ลาวมีพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกเพียง 50,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 21.1% ของพื้นที่ทั้งหมด

 

สภาพภูมิอากาศ : ลาว

ลาวมีสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน มีฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน สภาพอากาศคล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย

ถึงแม้ลาวจะอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุม แต่ก็ไม่มีลมพายุ สำหรับ เขตภูเขาภาคเหนือและเขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาวอุณหภูมิ สะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของ อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวน ชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300 - 2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 - 6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 - 85

 

ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียง ร้อยละ 10 - 25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่ละเขตก็แตกต่างกันอย่าง มากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร

อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์ 25 องศาเซลเซียส (ม.ค.) และ 36-37 องศาเซลเซียส (เม.ย.) ปริมาณฝนเฉลี่ย 171.5 เซนติเมตรต่อปี ขณะที่บริเวณแขวงเชียงขวาง แขวงหลวงพระบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 - 150 เซนติเมตร ส่วนแขวงสะหวันนะเขตในช่วงนี้ได้รับปริมาณน้ำฝน 150 - 200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวง หลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว

 

lao flag     ลาว     lao flag