header-photo

asean-info.com

 

  อินโดนีเซีย - ศิลปะ / วัฒนธรรม / ประเพณี 

 

ประชากรอินโดนีเซียประกอบ ด้วยหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธ์ุ แต่ละเผ่าพันธ์ุต่างก็มีมรดกทางวัฒนธรรม และ ลักษณะทางสังคมของตนสืบทอดกันมา

 

จากการที่สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ของประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะแยกกันเป็นหมู่เกาะมากมาย และมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประชากร ติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง จึงปรากฏลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาที่ใช้ผิดแผกแตกต่างกันไป

การแบ่งกลุ่มชนตามขนบธรรมเนียมประเพณี และพื้นที่ตั้ง สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกันคือ - - กลุ่มแรก เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในเกาะชวา และบาหลี ผู้คนที่อยู่ ในแถบนี้จะยึดมั่นอยู่ในแนวทางของศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม เน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจและสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปะอย่าง มากมาย โดยเฉพาะนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประชากรจะประพฤติตามหลักจริยธรรมมีการเคารพต่อบุคคลตามฐานะของ บุคคลนั้นๆ

- กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของเกาะ ต่างๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีวิตทางวัฒนธรรมตาม หลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจของสังคมอินโดนีเซีย ยุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทางศาสนา และกฎหมาย

- กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมาก อาศัยอยู่ตามบริเวณเทือก เขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และการเพาะปลูก รัฐบาลอินโดนีเซียได้เข้าไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชนกลุ่มนี้แล้ว

ในประเทศอินโดนีเซีย มีการกำหนดกฎหมายประเพณีในสังคมตามความเชื่อในศาสนา ซึ่งจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และสืบทอดกันมานานแล้ว มีสาระที่สำคัญคือ ความผูกพันระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และพลเมืองต่อสังคมที่ตนอยู่ โดยยึดหลักการปฏิบัติที่เรียกเป็นภาษาอินโดนีเซียว่า "โกตองโรยอง" คือการ ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันในงานต่างๆ เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแต่งงาน การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินร่วมกันภายใต้ข้อตกลงและ ข้อแม้พิเศษ

วัฒนธรรมประเพณีของชาวอินโดนีเซีย แตกต่างไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของประชากรใน แต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น

วายัง กูลิต อินโดนีเซีย
วายัง กูลิต (Wayang Kulit) :
เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการ แสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายชนิดไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ นิยมใช้วงดนตรี พื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง

 

ระบำบารอง อินโดนีเซีย
ระบำบารอง (Barong Dance) :
ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เป็นเรื่องราวของการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ยความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด

 

ผ้าบาติก อินโดนีเซีย
ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ :
เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ่าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า "ปาเต๊ะ" คือ ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสัน ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง

 

ชุดประจำชาติ : อินโดนีเซีย

ชุดประจำชาติ อินโดนีเซีย
indonesia flagหญิง :
สวมเสื้อ "คะบาย่า" เสื้อแขนยาว คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับผ้าโสร่งที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรยกว่า "ปาเต๊ะ" หรือ "บาติก" โดยมีผ้าคล้องคอยาว และสวมรองเท้าแตะหรือส้นสูงแบบสากล
indonesia flagชาย :
สวมเสื้อคอปิด สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่งสีและลงดลายเข้ากับหมวกสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าหุ้มส้น หากเข้าพิธีสำคัญ จะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเกาะ
 

อาหารประจำชาติ : อินโดนีเซีย

อาหารประจำชาติ อินโดนีเซีย
indonesia flagกาโด กาโด (Gado Gado) :
เป็นอาหารที่ประกอบด้วย ผักและธัญพืช ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ไข่ต้ม ข้าวเกรียบกุ้ง รบประทานคู่กับซ๊อสถั่วคล้ายกับซ๊อสสะเต๊ะ (คล้ายกับสลัดแขกของไทย)

ดอกไม้ประจำชาติ : อินโดนีเซีย

ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย (กล้วยไม้ราตรี)
indonesia flagดอกไม้ประจำชาิติ : ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)

 

indonesia flag     อินโดนีเซีย     indonesia flag