header-photo

asean-info.com

 

การประชุมสุดยอดผูู้นำอาเซียน (ASEAN Summit)

 

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 9-10 ตุลาคม 2556 ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลาม การประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมีขึ้นในครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งสุดท้ายภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของบรูไนฯ ก่อนที่เมียนมาร์จะรับตำแหน่งต่อไปในปี 2557 โดยวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้คือเพื่อทบทวนพัฒนาการความคืบหน้าการทำงานที่ผ่านมาและ ร่วมกันแสวงหาแนวทางเพื่อผลักดันประเด็นความร่วมมือที่ จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไปทั้งในกรอบอาเซียนและกับคู่เจรจา ตลอดจนเป็นโอกาสสำหรับแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องประเด็นในภูมิภาคและประเด็นระหว่างประเทศที่สำคัญ

 

หัวข้อในการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วย
- การเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียน ซึ่งรวมถึงการดำเนินการตามแผนงานสามประชาคมย่อยและ แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงในอาเซียน,
- การจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนภายหลังการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยย้ำเจตนารมย์
ของผู้นำอาเซียนในการพัฒนาประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 ซึ่งจะเน้นผลประโยชน์ ของประชาชนเป็นหลัก อาทิ ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและการให้บริการสาธารณสุข โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติภายในปี 2558
- ความร่วมมือในการจัดการปัญหาข้ามพรมแดนต่าง ๆ อาทิ ภัยพิบัติ และหมอกควัน รวมทั้งการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร
- การแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ อาทิ ความร่วมมือด้านต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ รวมทั้งกลไกการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงเพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในการประชุมฯ ครั้งนี้ เหล่าผู้นำอาเซียนได้มีการลงนามรับรองเอกสารสำคัญหลายๆอัน ได้แก่
1. ปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยวิสัยทัศน์ภายหลังปี ๒๕๕๘
2. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในอาเซียน
3. ปฏิญญาอาเซียนเสริมสร้างความเข้มแข็งมาตรการการคุ้มครองทางสังคม
4. ปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน ว่าด้วยการประกอบการและจ้างงานของเยาวชน
5. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้าน การจัดการภัยพิบัติ
6. ปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยโรคไม่ติดต่อ
7. แถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 16 ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน-จีน
8. ปฏิญญาของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 8 ว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหาร

 

ในส่วนของประเทศไทย ให้ความสำคัญกับเรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งของอาเซียน และการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2558 ซึ่งจะเน้นการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ การมีความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาเพื่อความร่วมมือทางด้านภาคเกษตร ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และการบริหาร จัดการน้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน โดยตรง นอกจากนี้ อาเซียนจะต้องส่งเสริมภาพลักษณ์ในฐานะภูมิภาคแห่งความมั่งคั่ง สันติภาพ และเสถียรภาพ รวมทั้งยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมบรรทัดฐานสากล อาเซียนจะเพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก และสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจได้อย่างสร้างสรรค์ อันจะส่งผลต่อความมั่นคง สันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้การพัฒนาดำเนินไปอย่างยั่งยืนเพื่อประชาชนต่อไป

 

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2557 ณ เนปิดอว์ เป็นการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของเมียนมาร์ โดยเมียนมาร์ได้กำหนดหัวข้อหลักของการประชุมว่า “Moving Forward in Unity to a peaceful and prosperous community” ในการประชุมผู้นำอาเซียนได้ทบทวนพัฒนาการและความคืบหน้าของการดำเนินงานที่ผ่านมาและพิจารณาประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ปี 2558 รวมทั้งกำหนดทิศทางความร่วมมือในอนาคตของอาเซียนในบริบทของการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 นอกจากนี้

สิ่งที่ไทยให้ความสำคัญในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ ได้แก่ การขยายความร่วมมือในการเร่งรัดการสร้างประชาคมอาเซียนในประเด็นสำคัญ อาทิ การสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมร่วม การขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี การปรับกฎระเบียบให้สอดคล้องกันในอาเซียน และการแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดนต่าง ๆ ผู้นำอาเซียนได้รับรองปฏิญญาเนปิดอว์ว่าด้วยการบรรลุ การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558๘ (Nay Pyi Taw Declaration on Realization of ASEAN Community 2015)

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.mfa.go.th