header-photo

asean-info.com

 

การประชุมสุดยอดผูู้นำอาเซียน (ASEAN Summit)

 

ครั้งที่ 16 วันที่ 8-9 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มีการหารือกันเรื่อง "มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน : จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ" "การจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการเสริมสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงในภูมิภาค" และลงนามในพิธีการว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของกฏบัตรอาเซียน

ครั้งที่ 17 วันที่ 28-30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มีการหารือกันเรื่อง "ก้าวสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียน : จากความปรารถนาสู่ปฏิบัติการ" พร้อมทั้งประกาศปฏิญญา ฮานอย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กในภูมิภาคอาเซียน ตกลงจะจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างกันในอาเซียนเพื่อประสาน และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน ลงความเห็นที่จะรับสหรัฐฯ กับรัสเซียเข้าเป็นสมาชิก ของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป

 

ครั้งที่ 18 วันที่ 7-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีการหารือกันเรื่อง "ความจำเป็นในการบรรลุถึงความเป็นประชาคมอาเซียน" โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีบทบาทสำคัญอยู่ในประชาคมโลกภายในปี พ.ศ.2565 มีการเสนอให้เตรียมร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยประชาคม อาเซียนในประชาคมแห่งประชาชาติโลกเพื่อลงนามในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19

ครั้งที่ 19 วันที่ 17-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประชุมได้ลงนามใน "ปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก" "ปฏิญญาว่าด้วยความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันของอาเซียนในความหลากหลายสู่การสร้างความแข็งแกร่งให้ประชาคมอาเซียน" และมีมติให้จัดตั้งศูนย์ ประสานงานอาเซียนเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรรมและจัดการกับผลกระทบจากภัยพิบัติ

 

ครั้งที่ 20 วันที่ 3-4 เมษายน พ.ศ. 2555 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมได้บลงนามใน "ปฏิบัติการพนมเปญว่าด้วยการสร้างประชาคมอาเซียน" "แถลงการณ์พนมเปญประชาคมเดียว พรหมลิขิตเดียว" และ "แถลงการณ์ว่าด้วยการสร้างอาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดในปี พ.ศ.2558"

ครั้งที่ 21 วันที่ 17-21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมได้ลงนามใน "คำแถลงพนมเปญรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" "ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" "คำแถลงผู้นำอาเซียนเรื่องการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกับระเบิดแห่งภูมิภาค" "เอกสารแนวคิดพื้นฐานเรื่องการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกับระเบิดแห่งภูมิภาค" และ "แผนการทำงานตามความตกลงบาหลีครั้งที่ III (2013-2017)"

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน 2556 ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน การประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมีขึ้นเป็นการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของบรูไนฯ โดยบรูไนฯ กำหนดหัวข้อหลักของปีนี้ว่า “Our People, Our Future Together” เพื่อสะท้อนถึงความสำคัญของบทบาทประชาชนในการขับเคลื่อนอาเซียนและกำหนดอนาคตของภูมิภาค โดยบรูไนฯ จะให้ความสำคัญกับการผลักดันประเด็นรวมถึงแผนงานต่างๆ ตามที่มีการตกลงไว้แล้วให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 22 นอกจากผู้นำอาเซียนจะได้ทบทวนพัฒนาการความคืบหน้าการทำงานที่ผ่านมาแล้ว จะเป็นการให้ทิศทางและแสวงหาแนวทาง เพื่อผลักดันประเด็นความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไปในกรอบอาเซียน ตลอดจนเป็นโอกาสให้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องประเด็นในภูมิภาคและประเด็นระหว่างประเทศที่สำคัญ

ประเด็นที่ทางไทยให้ความสำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดการสร้างประชาคมอาเซียน และการเชื่อมโยงในอาเซียนตามเป้าหมายปี 2558 การรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการจัดทำหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางในภูมิภาคของอาเซียน (Regional Comprehensive Economic Partnership) ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดนต่าง ๆ อาทิ การค้ามนุษย์ ยาเสพติด ภัยพิบัติ และหมอกควัน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และการสร้างความตระหนักรู้เรื่องอาเซียนในหมู่เยาวชน รวมทั้งการส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ และประเด็นภูมิภาคที่มีความสำคัญต่ออาเซียน